อาหารกระป๋อง เมนูทางเลือกแสนอร่อยที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

อาหารกระป๋องแทบจะเป็นเมนูทางเลือกสุดท้ายสำหรับการทานอาหาร เพราะเป็นอาหารทดแทน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นอาหารที่อาจจะต้องนำไปรังสรรค์อีกหนึ่งเมนู ด้วยข้อจำกัดที่ไม่สามารถปรุงรสชาติให้ครบเครื่องได้เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการเก็บรักษา เช่น ยำปลากระป๋อง แซนวิชทูน่า หรือสปาเกตตี้ซอสต่างๆ เป็นต้น แต่ก็มีบางคนที่ชื่นชอบรสต้นตำหรับของอาหารกระเป๋าอยู่บ้าง เช่น เมนูปลากระป๋องกับข้าวสวยร้อนๆ

อาหารกระป๋องมีกี่ประเภท

อาหารกระป๋องมีกี่ประเภท?

  1. เนื้อกระป๋อง : ไก่ แฮม เนื้อ คอร์นบีฟ
  2. ผักกระป๋อง : แตงกวาดอง แครอท มะเขือเทศ
  3. ผลไม้กระป๋อง : ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย สัปปะรด ส้ม
  4. ซุปกระป๋อง : ซุปไก่ ซุปผัก ซุปมะเขือเทศ ซุปมันฝรั่ง ซุปกระเทียม
  5. อาหารทะเลกระป๋อง : แซลมอน กุ้ง ปู ซาร์ดีน ทูน่าในน้ำแร่/น้ำมัน แมคเคอเรล
  6. ถั่วกระป๋อง : ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ถั่วดำ ถั่วแดง 

นอกจากนี้ยังมีอาหารกระป๋องประเภทที่เป็นเมนูสำเร็จรูปพร้อมทานแล้ว เช่น ข้าวผัด ไข่พะโล้ พะแนง กระเพรา และอื่นๆ แต่ก็จะมีอายุสั้น เก็บรักษายากกว่า 6 ประเภทก่อนหน้านี้

ข้อดีของอาหารกระป๋อง

  • ทานง่าย สะดวกสบาย
  • เก็บรักษาได้นานกว่าอาหารสด

ข้อเสียของอาหารกระป๋อง

  • สูญเสียสารอาหารสำคัญในระหว่างกระบวนการบรรจุ
  • มีปริมาณโซเดียวที่สูงจากการถนอมอาหาร
  • เนื้อสัมผัส รสชาติ อาจแตกต่างจากอาหารสด
การเก็บรักษาอาหารกระป๋อง

การเก็บรักษาอาหารกระป๋อง เก็บได้นานแค่ไหนกัน?

     อายุการเก็บรักษาอาหารกระป๋องจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารที่ถนอม และเป็นตัวกำหนดวันหมดอายุของอาหารกระป๋อง โดยประเทศไทยส่วนใหญ่จะเก็บรักษาได้ราว 1 – 2 ปี ด้วยความที่เป็นเมืองร้อนและผันผวนสูง ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่จะเก็บได้นานกว่ามาก

วิธีเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

วิธีเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

  1. ดูวันหมดอายุ เลือกทานให้ห่างจากวันหมดอายุให้ได้มากที่สุด
  2. สภาพของกระป๋อง เลือกบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบ นูน รั่ว หรือมีสนิทเกาะ
  3. ทำความเข้าใจส่วนผสมก่อน อาหารกระป๋องบางประเภทจะมีส่วนประกอบที่มากกว่าอาหารสด เช่น ปริมาณเกลือ น้ำตาล และ น้ำมัน อ่านคำแนะนำการบริโภคว่าทานได้กี่กรัมต่อวัน
  4. เลือกทานยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดจะเกิดผลดี
  5. เลือกยี่ห้อที่พอจะมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอยู่บ้าง