วันที่ 26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ภายใต้ พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ฉบับใหม่ เพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิตสัตว์ป่าในน่านน้ำทะเลไทย มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์จนถึงใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล เพราะอยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร จึงช่วยรักษาความสมดุล และเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้บางชนิดไม่ได้เป็นสัตว์ประจำถิ่นในน่านน้ำไทย แต่มีการอพยพไปมาระหว่างประเทศ จึงมีความสำคัญในระดับนานาชาติด้วยเช่นกัน
สัตว์สงวนในทะเลไทย มี 5 ชนิด
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
- วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ
วาฬขนาดใหญ่ มีครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตามแนวราบ และ มีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม

- วาฬโอมูระ
มีขนาดเล็กกว่า วาฬบรูด้า โตเต็มวัย ยาวเพียง 10 เมตร รอยจีบใต้ลำคอมีจำนวนมากกว่า คือ 80-90 รอยจีบ และ มีครีบหลังที่สูงกว่า โค้งน้อยกว่า วาฬบรูด้า

- พะยูน
รู)ร่างคล้ายโลมาและวาฬ หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี และ มีขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต

- ปลา
- ปลาฉลามวาฬ
เป็นฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาที่ขนาดใหญ่ โดยยาวได้ถึง 8-17.5 ม. และหนัก 21-35 ตัน หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา

- สัตว์เลื้อยคลาน
- เต่ามะเฟือง
เต่าทะเล โตเต็มวัยมีขนาด 1.5 - 2.5 เมตร น้ำหนัก 800 - 900 กิโลกรัม จัดเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กระดองของเต่ามะเฟือง มีลักษณะเป็นหนังหุ้ม ลักษณะตีนเป็นใบพาย หัวใหญ่ไม่สามารถหดกลับเข้ากระดองได้ และกระดองหลังมีลักษณะร่องสันนูนตามยาว 7 สัน คล้ายผลมะเฟือง
