ในความเป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องอุบัติเหตุ มักเกิดขึ้นได้ทุกเวลา และสิ่งที่ตามมาแน่นอนว่านั่นก็คือบาดแผลจากการประสบอุบัติเหตุนั้นๆ แต่เมื่อได้บาดแผลมาแล้ว สิ่งที่จำเป็นมากที่สุด คือ การรักษา ซึ่งบาดแผลโดยทั่วไป มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ แผลแบบแห้ง และ แผลแบบเปียก แต่รู้หรือไม่? ว่าแผลแต่ละแบบนั้น มันก็มีวิธีทำแผลที่ต่างกัน ดังนั้น ถ้าหากเรามีความรู้ในการทำแผลที่ถูกต้อง ก็จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น
แผลเปียก : เป็นแผลใหม่ แผลยังไม่แห้ง มีสิ่งคัดหลั่งมาก
- เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ ไม่ควรโดนแผลโดยตรง และไม่ควรเช็ดซ้ำรอบเดิมเด็ดขาด
- เช็ดแผลด้วยสำลีชุบน้ำเกลือล้างแผล เช็ดล้างสารคัดหลั่งภายในแผล เช็ดจนกว่าจะสะอาด แต่ถ้ายังไม่สะอาดให้ใช้สำลีก้อนใหม่
- กรณีแผลมีเลือดออก ให้กดทับบริเวณแผลให้เลือดหยุดไหล โดยใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก็อชปลอดเชื้อ แต่ก่อนกดห้ามเลือดต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเสมอ
- ทาแผลด้วยตัวยา Mupirocin (มิวไพโรซิน) อย่าง ยา Bactex ที่ช่วยในเรื่องของการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณแผล ลดการติดเชื้อ และลดการเกิดแผลแตกตกสะเก็ด
- หากเป็นแผลในร่มผ้ายิ่งต้องปิดแผล เนื่องจากแผลเมื่อเสียดสีกับเนื้อผ้า จะทำให้คัน และทำให้เราอดใจไม่ไหว แกะ เกา แผล จนกลายเป็นแผลเป็นได้ ศึกษาเพิ่มเติม แผลสด แบบไหนควรปิด หรือไม่ปิดพลาสเตอร์
แผลแห้ง : แผลปิดที่ไม่มีอาการอักเสบ และไม่มีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากแผล
- เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ ไม่ควรโดนแผลโดยตรง และไม่ควรเช็ดวนซ้ำรอยเดิมเด็ดขาด
- ทาแผลด้วยตัวยา Mupirocin (มิวไพโรซิน) อย่าง ยา Bactex ที่ช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแผลเป็น คุณสามารถใช้ยาทาลดรอยแผลเป็นหลังจากแผลแห้งแล้ว ซึ่งช่วยลดรอยแผลเป็นสีน้ำตาลคล้ำให้จางลงได้
- หากเป็นแผลในร่มผ้ายิ่งต้องปิดแผล เนื่องจากแผลเมื่อเสียดสีกับเนื้อผ้า จะทำให้คัน และทำให้เราอดใจไม่ไหว แกะ เกา แผล จนกลายเป็นแผลเป็นได้ ศึกษาเพิ่มเติม แผลสด แบบไหนควรปิด หรือไม่ปิดพลาสเตอร์
- การรักษาแผลก็สำคัญ แต่เราก็ต้องดูแลควบคู่ไปทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรืออาหารที่สามารถช่วยสมานแผล เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น และแผลสมานได้ดีขึ้น หากดูแล รักษาอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ขอบคุณข้อมูลจาก :