ชื่อกลาง : มะพร้าว
ชื่อท้องถิ่น : ภาคเหนือ เรียก บะป้าว, ภาคอีสาน เรียก บักพร้าว, ภาคอีสาน เรียก พร้าว, กะเหรี่ยง เรียก คอส่า หรือ โพล, จันทบุรี เรียก ดุง, เพชรบูรณ์ เรียก เฮ็ดดุง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera Linn
ชื่อสามัญ : Coconut (โคโคนัท)
วงศ์พืช : Arecaceae – Palmaceae (ตระกูลปาล์ม)
ถิ่นกำเนิด : ไม่มีระบุแน่ชัดว่าต้นกำเนิดมาจากที่ใด แต่เชื่อกันว่ามะพร้าวน่าจะเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระแวกบ้านเรา ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ต่อมาก็มีชาวสเปนนำไปปลูกในหมู่เกาะเวสต์อินดีส และทะเลแครีเบียนตอนใต้ รวมถึงมีชาวยุโรปนำไปปลูกที่ประเทศบราซิล และชาวโพสิเนเซียนนำไปปลูกตามเกาะต่างๆ ในมหาสุทรแปซิฟิก จนมะพร้าวกลายเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ไปทั่วโลก
ในประเทศไทย จะพบมะพร้าวได้มากที่สุดในภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฏร์ธานี และ นครศรีธรรมราช เป็นต้น
ประโยชน์ และ สรรพคุณของพร้าว
- ห้ามเลือด
- แก้ปวด
- บำรุงผิวพรรณ
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- ขับปัสสาวะ และนิ่ว
- แก้พิษ และอาเจียนเป็นเลือด
- แก้ท้องเสีย อาเจียน
- แก้เลือดกำเดาออก
- ลดการบวมต่างๆ เช่น หลังผ่าตัด หรือ ฟกช้ำ
- มีส่วนช่วยในการรักษาเบาหวาน
- รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
- ขับพยาธิตัวตืด
- แก้ปวดฟัน
- แก้หิด
รูปแบบในการใช้มะพร้าวเพื่อรักษาโรคต่างๆ
- กินเนื้อมะพร้าวประมาณครึ่งลูกก่อนอาหารเช้า รอ 3 ชั่วโมงแล้วค่อยทานข้าว เพื่อขับพยาธิตัวตืด
- น้ำมันมะพร้าวเคี่ยว พักให้อุ่นพอทนได้ นำไปทารักษากลากวันละหลายๆ ครั้ง หรือนำถ่านกะละมะพร้าวบดผสมน้ำเล็กน้อยแล้วทาก็ได้
- ต้มเปลือกของต้นมะพร้าวด้วยน้ำเปล่าแล้วทาน ช่วยแก้เลือดกำเดาไหล
- รากมะพร้าว 3 กำมือ ทุบให้แตกแล้วต้นกับน้ำ 5 แก้ว ต้มจนเหือดเหลือ 2 แก้ว แบ่งดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้า กลางวัน เย็น แก้ท้องเสียได้
- เนื้อมะพร้าวคั่วจนเหลือง โรยเกลือเล็กน้อย ทานครั้งละ 1 ช้อน วันละ 3 มื้อ ต่อเนื่อง 10 วัน จะช่วยรักษาเบาหวานได้
- ผงจากถ่านกะลามะพร้าวบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ช่วยรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง (แนะนำทานแบบรรจุแคปซูล)
- ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนวันละ 2-3 แก้ว แก้นิ่ว และอาเจียนเป็นเลือด