เอกลักษณ์อาหารการกิน สำหรับชาวจีน

     จีน มีประวัติศาสตร์มากกว่า 5,000 ปี วัฒนธรรมอาหารการกินก็มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะ หลักๆ ก็จะมีอยู่ 5 ประเด็น ดังนี้

1. รสชาติที่หลากหลาย

คนจีนมีคำพูดที่ว่า ‘ภาคใต้นิยมหมี่ ภาคเหนือนิยมเมี่ยน’ แปลได้ว่า คนภาคใต้ชอบกินข้าว และ คนภาคเหนือชอบกินเส้น 

โดยนอกจากนี้แล้ว คนจีนยังมีคำพูดที่ว่า ‘ภาคใต้นิยมรสหวาน ภาคเหนือนิยมรสเค็ม ภาคตะวันออกนิยมรสเปรี้ยว และ ภาคตะวันตกนิยมรสเผ็ด’ ซึ่งหมายความว่า ชาวจีนที่อาศัยอยู่ทุกมณฑลจะมีรสนิยมที่แตกต่างกันตามภูมิประเทศ นั่นเอง

รสชาติที่หลากหลาย

2. ความแตกต่างกันตามฤดูในรอบปีของจีน

ต้องบอกว่าชาวจีนจะมีทำอาหารตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฤดูร้อนมักจะเป็นอาหารรสจืด ฤดูหนาวก็จะเป็นอาหารรสที่มีความเข้มข้น นั่นเป็นเพราะ ชาวจีนได้รวบรวมประสบการณ์สมัยโบราณ พบว่า คนในอากาศที่หนาวต้องใช้พลังต่อสู้กับความหนาว รสชาติเข้มข้นจะชวนให้มีความอยากอาหารและทานได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ความแตกต่างกันตามฤดูในรอบปีของจีน

3. เน้นความสวยงามของรูปลักษณ์อาหาร

ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญแต่กับรสชาติเท่านั้น แต่คนจีนยังเน้นความสวยงามของอาหารอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแคร์รอตหรือหัวไชเท้า ก็สามารถแกะสลักเป็นรูปต่างๆ นานา อีกทั้งยังเน้นการประสานกลมกลืนกันของอาหาร เครื่องปรุง และ สิ่งแวดล้อมขณะรับประทานอีกด้วย

เน้นความสวยงามของรูปลักษณ์อาหาร

4. ต้องมีความสนุก

ชาวจีนมักจะชอบตั้งชื่อสนุกๆ ให้กับอาหาร เช่น มดไต่ต้นไม้ เป็น หมูสับผัดกับวุ้นเส้น หรือ หัวสิงโต เป็น ลูกชิ้นหมูก้อนใหญ่ๆ โดยอาหารเหล่านี้ถ้าดูจากชื่อก็คงไม่รู้ว่าเป็นอาหารอะไร ซึ่งการตั้งชื่อแบบนี้ คนจีนเชื่อว่าจะทำให้การรับประทานอาหารเป็นเรื่องที่สนุก การมีชื่ออาหารที่สนุกทำให้คนสามารถมีความสุขกับการรับประทานอาหารไปได้ด้วย แต่นอกจากความสนุก คนจีนยังนิยมกินอาหารที่ผูกโยงกับความเป็นสิริมงคลอีกด้วย

ต้องมีความสนุก

5. ถือเรื่องความพอดีเป็นหลัก

เนื่องจากรสชาติของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะสรุปว่าอาหารนี้อร่อยหรือไม่? การใส่ปรุงรสชาติไม่ว่าจะ เปรี้ยว เผ็ด หวาน เค็ม ก็ควรใส่ไม่มากไม่น้อยเกินไป การใส่เครื่องปรุงก็ควรให้พอเหมาะจะได้มีรสชาติที่อร่อยพอดี เพราะสำหรับอาหารจีนแล้ว ‘ความพอเหมาะพอดี’ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ถือเรื่องความพอดีเป็นหลัก

ขอบคุณข้อมูจาก

https://thai.cri.cn/2023/03/01/VIDEsbXgSG441yVXhVT22QUn230301.shtml